วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ทฤษฎีองค์การและการพัฒนาองค์การ

ทฤษฎีองค์การและการพัฒนาองค์การ
ก่อนที่เราจะได้ศึกษาทฤษฎีองค์การและการพัฒนาองค์การ เรามาศึกษาความหมายขององค์การก่อนว่าองค์การนั่นมีความหมายอย่างไร
ความหมายขององค์การ
ความหมายขององค์การนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้กล่าวไว้หลายลักษณะหลายรูปแบบ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมาก เรามาพิจารณาความหมายขององค์การที่นักวิชาการได้กล่าวไว้ อาทิ เช่น
Herbert G. Hicks. (Hicks. 1972) อธิบาย องค์การคือ กระบวนการจัดโครงสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์ (interct) ในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
joseph L. Massie กล่าวว่า องค์การคือ โครงสร้างหรือกระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้น มีการทำกิจกรรมหรืองานออกเป็นประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
Lyndall Urwick กล่าวว่า องค์การ คือ การกำหนดกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย แล้วจำแนกแบ่งกิจกรรมหรืองานนั้นๆ ให้บุคคลในกลุ่มดำเนินการ
พะยอม วงศ์สารศรี (2537 : 4) กล่าวว่า องค์การคือระบบที่บุคคลตั้งแต่สองคนร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างมีจิตสำนึก แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber) กล่าวว่า องค์การคือหน่วยสังคมหรือหน่วยงานซึ่งมีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมใจกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง (สมคิด บางโม 2538: 14 )
ธงชัย สันติวงษ์ (2537 : 5) กล่าวว่า องค์การ หมายถึง รูปแบบของการทำงานของมนุษย์ที่มีลักษณะการทำงานเป็นกลุ่ม ที่มีการประสานงานกันตลอดเวลา ตลอดจนต้องมีการกำหนดทิศทาง มีการจัดระเบียบวิธีทำงานและติดตามวัดผลสำเร็จของงานที่ทำอยู่เสมอด้วย กิ่งแก้ว ศรีสำลีกุลรัตน์ (ออนไลน์) ได้ให้ความหมายขององค์การไว้ว่า องค์การ คือ "กลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการทำกิจกรรม โดยมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบไปมาระหว่างกันทั้งภายในและภายนอกองค์การ" จากความหมายที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวมาข้างต้นนั้น เมื่อพิจารณาแล้วล้วนมีคำบางคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกันมาก ดังนี้
1. บุคคล กลุ่มบุคคล มนุษย์ สมาชิก เมื่อพิจารณาดูแล้วก็หมายถึงคนนั่นเอง
2. การทำกิจกรรม การทำงาน ก็หมายถึงการทำงานนั่นเอง 3. บรรลุจุดมุ่งหมาย บรรลุวัตถุประสงค์ บรรลุเป้าหมาย การกำหนดทิศทาง ก็หมายถึงการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้นั่นเอง
4. ปฏิสัมพันธ์ ประสานงาน ร่วมแรงร่วมใจ รับผิดชอบ เมื่อพิจารณาดูแล้วก็หมายถึงการทำงานร่วมกันโดยมีการประสานสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างการทำงาน
เมื่อพิจารณาจากความหมายของคำที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็พอที่จะสรุปได้ว่า องค์การ หมายถึง การที่กลุ่มบุคคลหรือบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ร่วมกันทำงานหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่มที่ตั้งไว้ให้สำเร็จนั่นเอง

ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory)
ความหมายของทฤษฎีองค์การ “ทฤษฎีองค์การ” หมายถึง โครงสร้างและการออกแบบองค์การ ซึ่งมีการกำหนดหน้าที่ขององค์การในการที่จะส่งผลกระทบต่อบุคคลในองค์การและสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ ตลอดจนเป็นการวิเคราะห์โครงสร้าง วัฒนธรรม โดยที่ผู้บริหารต้องมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ และมีการปรับปรุงองค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
(สืบค้นจาก http://www.bangkaew.com/wai/article.php?story=20070117180150575) ทฤษฎีเป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบนี้ (If ……then) ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ไชยา ยิ้มวิไล (2528 อ้างจาก Henry L. Tosi) ได้จำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม เป็นทฤษฎีที่มีโครงสร้างที่แน่นอน มีการกำหนดกฎเกณฑ์และเวลาอย่างมีระเบียบแบบแผน มุ่งให้ผลผลิตมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ (Effective and Effcient Productity) จากลักษณะดังกล่าว ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จึงมีลักษณะที่มุ่งเน้นเฉพาะความเป็นทางการ ความมีรูปแบบหรือรูปนัยขององค์การเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ผลผลิตสูง และรวดเร็ว เปรียบมนุษย์เสมือนเครื่องจักรกล (Mechanistic) จุดเน้นของทฤษฎีนี้ คือ
1. ให้ความสำคัญและศึกษาองค์การที่เป็นทางการเท่านั้น 2. มุ่งค้นหาวิธีการบริหารองค์การว่าทำอย่างไรองค์การจะมีประสิทธิภาพ ( การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ) และประสิทธิผลสูงสุด ( ได้ผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ) 3. มองพนักงานเปรียบเสมือนเครื่องจักรและเชื่อว่าปัจจัยที่จูงใจคนได้ คือ ปัจจัยทางเศรษฐทรัพย์หรือเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
สรุปแล้วทฤษฎีนี้มุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลผลิตมากกว่าตัวบุคคล จะเห็นไดว่าทฤษฎีนี้มองตัวบุคคลหรือมนุษย์เปรียบเสมือนเครื่องจักรกลเท่านั้น
กลุ่มนักวิชาการ ที่มีบทบาทมากในทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมคือ Frederick Taylor ผู้เป็นเจ้าตำรับการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) Max Weber เจ้าตำรับระบบราชการ (Bureaucracy) Lyndall Urwick และ Luther Gulick ผู้มีชื่อเสียงเรื่องทฤษฎีองค์การและกระบวนการบริหารงาน เป็นต้น
2. ทฤษฎีสมัยใหม่หรือดั้งเดิมใหม่ (Neo - Classical Theory of Organization) มีฐานความคิดมาจากแบบดั้งเดิม แต่มีสิ่งใหม่ๆเพิ่มเข้ามา คือ 1.ให้ความสำคัญกับองค์การที่ไม่เป็นทางการเพิ่มมากขึ้น เช่น ชมรม สมาคม 2. เชื่อว่าในการจูงใจให้คนทำงานนั้น มีปัจจัยด้านอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่เรื่องเงินเพียงอย่างเดียว เช่น ด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา
กลุ่มนักวิชาการที่มีบทบาทในทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ คือ Hugo Munsterberg เป็นผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม Dickson ได้ทำการศึกษาที่ฮอธอร์น (Howthorne Study) เป็นผู้บุกเบิกขบวนการมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations Movement) นอกจากนั้นได้รับการสนับสนุนจากนักทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์อีก เช่น MeGregor ทฤษฎี X และ Y และ Maslow เจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ 5 ลำดับขั้น เป็นต้น ี้มองตัวบุคคลหรือมนุยษ์ีนี้มองตัวบุคคลหรือมนุยษ์เปรียบเสมือนเครื่องจักรกลเท่านั้นสรุปได้ว่าทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ ให้ความสำคัญในด้านความรู้สึกของบุคคล ยอมรับถึงอิทธิพลทางสังคมที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน อาทิเช่น กลุ่มคนงานและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซึ่งมีความเชื่อว่าขบวนการมนุษยสัมพันธ์ จะให้ประโยชน์ในการผ่อนคลาย ความตายตัวในโครงสร้างขององค์การสมัยดั้งเดิมลง
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) แนวความคิดของทฤษฎีนี้ ยังตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวความคิดของทฤษฎี 2 ยุคแรก จะเป็นแนวความคิดที่เป็นการเพิ่มเติมขึ้นมาจากฐานเดิม เพื่ออธิบายทฤษฎีที่ยุคเดิม ไม่สามารถอธิบายได้ แต่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสมัยเดิมทั้ง 2 ยุค
ทฤษฎีสมัยปัจจุบันจะมีสิ่งที่เข้ามาใหม่ ก็คือ ให้ความสนใจกับสาขาวิชาการต่าง ๆ หลาย ๆ สาขาวิชาที่นำมาอธิบายปรากฎการณ์ขององค์การ เช่น เอาวิชาเศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ มาผสมผสานกัน หรือที่เรียกว่า สหวิทยาการ ในทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันจะมีองค์การย่อย ๆ อยู่ 2 ทฤษฎี คือ 1. ทฤษฎีระบบ (System Analysis) จะมองว่าองค์การเป็นระบบๆหนึ่ง ที่มีส่วนประกอบ 5 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ input สิ่งนำเข้าหรือทรัพยากรที่ใช้ในการบริหารงานขององค์การ process กระบวนการที่ใช้ในการแปลงสิ่งนำเข้าหรือทรัพยากร ให้ออกมาเป็น สิ่งส่งออกหรือผลผลิต หรือการบริการ output สิ่งส่งออกหรือผลผลิต หรือการบริการ feedback ข้อมูลย้อนกลับ ว่าสินค้าและการบริการได้รับความพึงพอใจหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่กลับมาสู่กระบวนการของการ input environment สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารงาน เช่น เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม
นักทฤษฎีที่มีบทบาทในทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน มีหลายคน อาทิเช่น Alfred Korzybskj, Mary Parker Follet, Chester I Barnard, Norbert Winer และ Ludwig Von Bertalanfty เป็นต้น ดังนั้นองค์การในแนวความคิดนี้จึงต้องมีการปรับตัว (Adaptative) ตลอดเวลาเพราะตัวแปรต่าง ๆ มีลักษณะเปลี่ยนแปลง (dynamic) อยู่เสมอ 2. ทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์และกรณี (Contingency Theory) พัฒนามาจากความอิสระ ที่ว่าองค์การที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็นองค์การที่มีโครงสร้าง มีระบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพความเป็นจริง นักทฤษฎีที่กำหนดชื่อทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ และกรณีคือ Fiedler นอกจากนั้นก็มี Woodward, Lawrence และ Lorsch ที่ได้ทำการวิจัยศึกษาเรื่องนี้ด้วย

องค์ประกอบขององค์การ องค์การมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
1. จุดมุ่งหมายขององค์การ หรือวัตถุประสงค์
2. โครงสร้างขององค์การ
3. บุคลากร บุคคลกับองค์การต้องไปด้วยกัน ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน 4. สภาพแวดล้อม


ประเภทขององค์การ องค์การเราสามารถแบ่งประเภทขององค์การออกได้ดังนี้
1. แบ่งตามการจัดระเบียบภายในองค์การ 1.1 องค์การที่เป็นทางการ ( รูปนัย ) คือ มีการจัดตั้งโดยมี กฎหมายรองรับ มีการกำหนดโครงสร้างที่ชัดเจน มีการกำหนดสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน ( ภายในองค์การที่เป็นทางการจะมีองค์การที่ไม่เป็นทางการแทรกอยู่เสมอ ) 1.2 องค์การที่ไม่เป็นทางการ (อรูปนัย) เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นจากความสัมพันธ์ของกลุ่มคนในองค์การ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบมารองรับ เช่น สโมสร ชมรม กลุ่มต่างๆ อาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่ม คือ องค์การสาธารณะและองค์กรเอกชนหรือเอกชนธุรกิจ 2. แบ่งโดยการถือกำเนิด 2.1 องค์การแบบปฐม คือ เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น ครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล ศาสนา 2.2 องค์การแบบมัธยม คือ มนุษย์จัดสร้างขึ้น
การพัฒนาองค์การ (Organization Development)
ความหมายของการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ (Organization Development) หรือ OD หมายถึง ความพยายามอย่างเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องกัน ในการปรับปรุงสมรรถภาพขององค์การ เพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ ในการขจัดปัญหาภายในองค์การให้หมดไป (ธนวัฒน์ แสนวงษา, สืบค้นจาก 202.29.5.17/kitchakarn/sub/krumoo1/file/upload/tanawat.ppt)
การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ (กิ่งแก้ว ศรีสำรีกุลรัตน์, บันทึกของกิ่งแก้ว,สืบค้นจาก patchara579.multiply.com/journal/item/51)
การพัฒนาองค์การ คือ กลยุทธ์เชิงพฤติกรรมที่ถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ และการดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เราจะเริ่มต้นด้วยการพิจารณาลักษณะของการพัฒนาองค์การก่อนแล้ว ต่อมาจะเป็นขั้นตอนกระบวนการการพัฒนาองค์การ และเทคนิคของการพัฒนาองค์การบางอย่าง (สืบค้นจาก http://isc.ru.ac.th/data/ED0002519.doc)
การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงองค์การให้กลับสู่สภาวะใหม่ที่เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม โดยมุ่งที่ความกล้าในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง เน้นให้องค์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่จะนำเอาความรู้ใหม่และแปลกทั้งทางด้านเทคนิค วิทยาการ และทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามาสู่องค์การ(สืบค้นจาก http://isc.ru.ac.th/data/ED0002519.doc)
การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ โดยใช้การวิจัยเชิง
แก้ปัญหา ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างมีระบบเชิงวิทยาศาสตร์ (สืบค้นจาก http://isc.ru.ac.th/data/ED0002519.doc)
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น ก็พอสรุปได้ว่า การพัฒนาองค์การ คือ กระบวนการหรือความพยายามในการที่จะพัฒนาองค์การหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในองค์การอย่างมีระบบแบบแผนทั้งสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ

จุดมุ่งหมายของการพัฒนาองค์การ
องค์การมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต คือ มีเกิด มีความเจริญเติบโต มีแก่ มีดับสูญ ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์การมีชีวิตที่สมบูรณ์ และมีชีวิตที่คงอยู่ยาวนานดังนั้นในการพัฒนาองค์การจึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
1. เพื่อสร้างเสริมความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ
2. เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การให้ดีกว่าเดิม
3. เพื่อแก้ปัญหาขององค์การ
4. เพื่อให้องค์การสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและอยู่รอด เมื่อต้องประสบกับปัญหาและการ
เปลี่ยนแปลง
5. เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีแผนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในจุดมุ่งหมายของ
องค์การร่วมกัน
6. เพื่อมุ่งปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขวัฒนธรรมที่ขัดต่อความเจริญขององค์การ
7. เพื่อความเจริญก้าวหน้าและอยู่รอดขององค์การ

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่อง โดยเน้นการฝึกทักษะด้านการกำหนดวัตถุประสงค์และการวางแผน ตั้งแต่ระบบบุคคลจนถึงระดับองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แม่แบบของฐานข้อมูลและแม่แบบการวิจัยเชิงแก้ปัญหา การพัฒนาองค์การจึงมุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การ ขั้นตอนดังนี้
• การยอมรับปัญหา
• การเข้ามาของที่ปรึกษาการพัฒนาองค์การ
• การให้ข้อมูลป้อนกลับ
• การวางแผนดำเนินงาน
• การเลือกใช้เทคนิคการพัฒนาองค์การ
• การประเมินผล
(สืบค้นจาก http://isc.ru.ac.th/data/ED0002519.doc )

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การ
• การวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้นขององค์การ
• การเก็บรวบรวมข้อมูลจากองค์การ
• การป้อนข้อมูลย้อนกลับให้แก่องค์การ
• สำรวจปัญหาขององค์การจากข้อมูลที่ได้รับทั้งหมด
• วางแผนปฏิบัติการ
• ลงมือปฏิบัติการ(http://isc.ru.ac.th/data/ED0002519.docpatchara579.multiply.com/journal/item/51
202.29.5.17/kitchakarn/sub/krumoo1/file/upload/tanawat.ppt)

ธนวัฒน์ แสนวงษา ได้กล่าวถึงกระบวนการในการพัฒนาองค์การไว้ในเว็บไซต์
202.29.5.17/kitchakarn/sub/krumoo1/file/upload/tanawat.ppt ดังนี้
1. การกำหนดปัญหา (Problem recognition)
2. การส่งต่อให้กับทีมที่ปรึกษา (Entry of change agent)
3. การรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ปัญหา (Data collection and problem diagnosis)
4. การปรับแผนสำหรับเปลี่ยนแปลง (Development of plan for change)
5. การดำเนินการเปลี่ยนแปลงในเบื้องต้น (Change implementation)
6. การทำให้มั่นคงและจัดทำให้ดีขึ้น (Stabilization and institutionalization)
7. การป้อนกลับและการประเมินผล (Feedback and evaluation)

ขั้นตอนการพัฒนาองค์การออกเป็น 1. การรวบรวมข้อมูล (Data Gathering) 2. การตรวจวินิจฉัยปัญหา (Diagnosis) 3. การใส่สิ่งสอดแทรก (Intervention) 4. การประเมิน (Evaluation)
(กิ่งแก้ว ศรีสำรีกุลรัตน์, บันทึกของกิ่งแก้ว,สืบค้นจาก patchara579.multiply.com/journal/item/51)
สรุปขั้นตอนของการพัฒนาองค์การ ได้ดังนี้
1. สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์การ
2. เก็บรวบรวมข้อมูลและวินิจฉัยปัญหา
3. แวงแผนหรือกำหนดวิธีการแก้ปัญหาขององค์การ
4. ดำเนินการหรือลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
5. ประเมินผลและให้ข้อมูลย้อนกลับ
การพัฒนาองค์การถือได้ว่าเป็นเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงองค์การ ที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่องค์การอย่างมาก แต่ในการพัฒนาองค์การนั้น องค์การก็จะต้องมีการพิจารณาการเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับองค์การ เพราะการพัฒนาองค์การจะต้องเผชิญกับการเมืองในการเปลี่ยนแปลงองค์การ ปัญหาด้านวัฒนธรรมขององค์การ ปัญหาด้านวัฒนธรรมของสังคม หรือประเทศ และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม หรือการกระทบสิทธิส่วนบุคคลของคนที่ทำองค์การ การเลือกเปลี่ยนแปลงองค์การโดยใช้ OD. จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ด้วย